วันจันทร์ที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2555

classification






    Animals can be classified into 2 types: Animals includes vertebrates and invertebrates. Reptiles birds fish mammal and amphibians are examples of vertebrates. Examples of invertebrates are protozoa coelenterates flatworms arthropods annelid worms molluscs and echinoderms. Arthropods includes arachnids crustaceans insects and  myriapods.
 
Flowchart summarising the classification of fungus-like organisms (94KB).
    Fungus-like organisms can be classified into 3 types: Fungus-like organisms includes Mycota or Eumycota Straminipila and Slime molds. Chytridiomycota Zygomycota Glomeromycota Ascomycota Basidiomycota Mitosporic fungi are examples of Mycota or Eumycota. Examples of Straminipila are Oomycota Hyphochytridiomycota and Labyrinthulomycota. Slime molds includes Myxomycota Plasmodiophoromycota Dictyosteliomycota and Acrasiomycota.  

 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 

วันจันทร์ที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2555

10th assignment : Combining Sentence


Sentence combining

เมื่อกล่าวถึงเรื่อง Sentence ในภาษาอังกฤษแล้ว ก็อาจจะเป็นที่เข้าใจได้ทันที(สำหรับผู้ที่เคยผ่านหูผ่านตามา) ว่า คำว่า “Sentence” นี้ ก็คือประโยคในภาษาไทยนั่นเอง ประโยคในภาษาไทยและภาษาอังกฤษนั้น มีลักษณะใกล้เคียงกันมาก ทั้งรูปแบบโครงสร้างประโยค การเรียงประโยค จึงอาจทำให้ผู้ที่เข้าใจภาษาไทย สามารถเรียนรู้และเข้าใจภาษาอังกฤษได้อย่างรวดเร็ว

            ก่อนที่จะได้ทำการจำแนกแบ่งซอยSentence(ประโยค)ขอนำคำนิยามความหมายที่ปรากฏอยู่ในพจนานุกรมหลายเล่มมาประมวลเอาไว้พอสังเขปดังนี้

            Sentence is group of words that you put together to tell an idea or ask a question.”

(Oxford Basic English Dictionary,1981:247)

            Sentence is a word or a group of syntactically related words that states, asks, commands, or exclaims something conventional unit of connected speech or writing, usually containing a subject and a predicate: in writing, a sentence begins with a capital letter and concludes with an end of mark (period, question mark, etc.), and concludes with any various final pitches and a terminal juncture.” (Webster’s New World Dictionary,1988:1223)

            “ Sentence is a group of words, which they are written down, begin with a capital letter and end with a full stop, question mark, or exclamation mark. Most of sentence contain a subject and a verb.” ( Collins Cobuild English Dictionary,1995:287)

           

จากคำนิยามความหมายของ Sentence (ประโยค) ข้างต้นนี้ ทำให้สามารถสรุปได้ว่า

Sentence(ประโยค) หมายถึง กลุ่มคำที่ประกอบด้วยภาคประธาน และภาคขยายประธาน ที่เรียงประกอบเข้าด้วยกันอย่างเป็นระเบียบ โดยแสดงข้อความที่มีความหมายอย่างใดอย่างหนึ่ง

Sentence (ประโยค) โดยทั่วไปแล้วจะประกอบด้วย ภาคประธาน (Subject) และภาคขยายประธาน หรือภาคแสดง (predicate) ตัวอย่างเช่น

I am a monk.

ผมเป็นพระ

            ภาคประธาน (Subject) คือ I

            ภาคขยายประธาน หรือภาคแสดง (predicate) คือ am a monk

Mahachulalongkornrajavidyalaya university is the Buddhist university.

มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยเป็นมหาวิทยาลัยทางพระพุทธศาสนา

ภาคประธาน (Subject) คือ Mahachulalongkornrajavidyalaya university

            ภาคขยายประธาน หรือภาคแสดง (predicate) คือ is the Buddhist university

ฯลฯ

            Sentence (ประโยค) ในภาษาอังกฤษ ท่านได้แบ่งออกเป็น 4 ประเภท คือ

1. Simple Sentence ( ประโยคความเดียว หรือเอกัตถประโยค)

2. Compound Sentence ( ประโยคความรวม หรืออเนกัตถประโยค)

3. Complex Sentence ( ประโยคความซ้อน หรือสังกรประโยค)

4. Compound – Complex Sentence ( ประโยคความผสม หรือ อเนกัตถสังกรประโยค)

 

ต่อไปก็จะได้กล่าวถึงความหมายและรายละเอียด กฎเกณฑ์ของ Sentence (ประโยค) แต่ละข้อ

ที่ได้กล่าวมาแล้ว ตามลำดับดังต่อไปนี้

1. Simple Sentence แปลว่า ประโยคความเดียว หรือเอกัตถประโยค หมายถึง ข้อความที่พูด

ออกไปแล้ว มีใจความเดียว ไม่กำกวม สามารถเข้าใจเป็นอย่างเดียวกันระหว่างผู้พูดและผู้ฟัง เป็นประโยคที่มีประธานตัวเดียว และกิริ ยาตัวเดียว

ตัวอย่างเช่น

-Venerable Tawan is my friend.

ท่านตะวันเป็นเพื่อนของผม

- Buddhism is one of the great world religions.

พระพุทธศาสนาเป็นหนึ่งในบรรดาศาสนาโลกที่ยิ่งใหญ่

ฯลฯ

หมายเหตุ : พึงสังเกตประโยคแต่ละประโยคข้างต้นเหล่านี้ จะเห็นว่าแต่ละประโยคจะมีประธาน

ตัวเดียว และกิริยาตัวเดียว จึงทำให้สามารถทราบได้ว่าเป็น Simple Sentence (ประโยคความเดียว หรือเอกัตถประโยค) ตามความหมาย และกฎเกณฑ์ข้างต้น

 

นอกจากนั้นแล้ว Simple Sentence (ประโยคความเดียว หรือเอกัตถประโยค) ยังสามารถแบ่งเป็น

ประโยคย่อยๆ ได้อีก 6 รูปแบบ ดังนี้คือ

1. ประโยคบอกเล่า ( Affirmative Sentence)

2. ประโยคปฏิเสธ ( Negative Sentence )

3. ประโยคคำถาม ( Interrogative Sentence )

4. ประโยคคำถามเชิงปฏิเสธ (Negative Question Sentence)

5. ประโยคข้อร้องหรือบังคับ ( Imperative Sentence)

6. ประโยคอุทาน (Exclamation Sentence)

 

ก่อนอื่นก็ขอเริ่มต้นอธิบายเป็นลำดับไปดังนี้

1. ประโยคบอกเล่า ( Affirmative Sentence) ได้แก่ ประโยคที่มีเนื้อความบอกเล่าตามธรรมดา

ไม่อยู่ในรูปคำถาม ปฏิเสธ อุทาน หรือ ขอร้องและบังคับ

ตัวอย่างเช่น

            - I am studying at a university in Nakornratchasima province.

            ผมกำลังศึกษาอยู่ที่มหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งในจังหวัดนครราชสีมา

            - Wat Isaan is located in Nakornratchasima city.

วัดอิสานตั้งอยู่ในตัวเมืองนครราชสีมา

ฯลฯ

2. ประโยคปฏิเสธ ( Negative Sentence ) ได้แก่ ประโยคที่มีเนื้อความปฏิเสธ

ตัวอย่างเช่น

- The Pali language is not difficult for monks.

ภาษาบาลีเป็นภาษาที่ไม่ยากสำหรับพระ

- Thailand is not the largest country in the world.

ประเทศไทยไม่ได้เป็นประเทศที่ใหญ่ที่สุดในโลก

3. ประโยคคำถาม ( Interrogative Sentence ) ได้แก่ ประโยคที่มีเนื้อความเป็นคำถาม เพื่อ

ต้องการทราบคำตอบ

ตัวอย่างเช่น

            - Are you a monk ?

            ท่านเป็นพระหรือ ?

            - What is Buddhism?

            พระพุทธศาสนาคืออะไร?

ฯลฯ

4. ประโยคคำถามเชิงปฏิเสธ (Negative Question Sentence) ได้แก่ประโยคที่มีเนื้อความเชิงปฏิเสธ

 ตัวอย่างเช่น

            - Does not she believe in you?

            หล่อนไม่เชื่อคุณหรือ?

            - Why do not you do that again?

            ทำไมคุณถึงไม่ทำมันอีกครั้ง?

ฯลฯ

5. ประโยคข้อร้องหรือบังคับ ( Imperative Sentence) ได้แก่ ประโยคที่มีเนื้อความขอร้องหรือ

บังคับให้กระทำ

ตัวอย่างเช่น

5.1 ประโยคที่มีเนื้อความขอร้อง เช่น

- I beg your pardon.

ผมขอโทษ

- You should follow my words.

ท่านควรทำตามคำพูดของผม

5.2 ประโยคที่มีเนื้อความบังคับ เช่น

- Do as my suggestion.

จงทำตามคำแนะนำของผม

- Open the door now.

            จงเปิดประตูเดี๋ยวนี้

ฯลฯ

6. ประโยคอุทาน (Exclamation Sentence) ได้แก่ ประโยคที่มีเนื้อความเปล่ง

อุทานขึ้น มีทั้ง ตกใจ ปะหลาดใจ เศร้าใจ ดีใจ เป็นต้น

ตัวอย่างเช่น

            How nice she is !

            หล่อนช่างดูดีจริงๆ !

            What the hottest month it is!

            มันช่างเป็นเดือนที่ร้อนที่สุดอะไรเช่นนี้ !

2. Compound Sentence แปลว่า ประโยคความรวมหรืออเนกัตถประโยค หมายถึง ประโยคที่มีข้อความ 2 ข้อความมารวมกัน พูดง่าย ๆ คือ ประโยคความเดียว 2 ประโยคมารวมกัน แล้วเชื่อมด้วย co-ordinate conjunction (ตัวเชื่อมประสาน) ได้แก่ and, or, but, so, still, yet, etc. และ conjunctive adverb (คำวิเศษณ์เชื่อม) ได้แก่ however, meanwhile, therefore, otherwise, thus, etc.

2.1 Compound Sentence ( ประโยคความรวม หรืออเนกัตถประโยค) ที่เชื่อมด้วย co-ordinate conjunction (ตัวเชื่อมประสาน) ได้แก่ and, or, but, so, still, yet, etc.

ตัวอย่างเช่น

            - Venerable Tawan can speak English and he can speak Loa.

            ท่านตะวันสามารถพูดภาษาอังกฤษและสามารถพูดภาษาลาวได้

            - Phramaha Charoen does not study Loa yet he can speak it.

            พระมหาเจริญไม่ได้ศึกษาภาษาลาวถึงกระนั้นเขาก็สามารถพูดภาษาลาวได้

            2.2 Compound Sentence (ประโยคความรวม หรืออเนกัตถประโยค) ที่เชื่อมด้วย conjunctive adverb (คำวิเศษณ์เชื่อม) ได้แก่ however, meanwhile, therefore, otherwise, thus, hence, nevertheless, etc.

ตัวอย่างเช่น

- Venerable Prakorng was ill, thus he went to see a doctor at a hospital.

ท่านประคองป่วยดังนั้นเขาจึงไปหาหมอที่โรงพยาบาลแห่งหนึ่ง

- Jess comes to see me at a temple, meanwhile I teach her Buddhism.

เจสมาหาผมที่วัดระหว่างนั้นผมก็สอนพระพุทธศาสนาให้เธอด้วย

หมายเหตุ : จากตัวอย่าง จะเห็นได้ว่า Compound Sentence เกิดมาจาก Simple Sentence 2 ประโยคมารวมกัน แล้วคั่นกลางประโยคทั้งสองด้วย co-ordinate conjunction (ตัวเชื่อมประสาน) และ conjunctive adverb (คำวิเศษณ์เชื่อม)

3. Complex Sentence แปลว่า ประโยคความซ้อน หรือสังกรประโยค หมายถึง ประโยคที่มี

เนื้อความซับซ้อน ถ้าขาดเนื้อความใดเนื้อความหนึ่งแล้ว ทำให้เนื้อความไม่สมบูรณ์ จะใช้ตัวเชื่อมที่เรียกว่า sub - ordinate conjunction (คำเชื่อมแฝง) ได้แก่ if, before, because, as if, since, etc. และ relative pronoun(สัมพันธ์สรรพนาม) ได้แก่ who, what, where, that, which, etc.

            3.1 Complex Sentence (ประโยคความซ้อน หรือสังกรประโยค) ที่เชื่อมด้วย sub - ordinate conjunction (คำเชื่อมแฝง) ได้แก่ if, before, because, as if, since, etc.

ตัวอย่างเช่น

            - Before I go out, I would like to leave my messages.

            ก่อนที่ผมไป ผมอยากจะทิ้งข้อความของผมเอาไว้

            - Venerable Somporn talks as if he was able to speak English.

            ท่านสมพรพูดราวกับว่าเขาสามารถพูดภาษาอังกฤษได้

            3.2 Complex Sentence (ประโยคความซ้อน หรือสังกรประโยค) ที่เชื่อมด้วย relative pronoun (สัมพันธ์สรรพนาม) ได้แก่ who, what, where, that, which, etc.

ตัวอย่างเช่น

The monk who is standing over there is my friend.

พระผู้ซึ่งกำลังยืนอยู่ที่นั่นคือเพื่อนของผม

The monk whose book was stolen is student.

พระผู้ซึ่งหนังสือของเขาถูกขโมยคือนักเรียนของผม

หมายเหตุ : จากตัวอย่าง จะเห็นได้ว่า Complex Sentence (ประโยคความซ้อน หรือสังกรประโยค) เชื่อมด้วย sub - ordinate conjunction (คำเชื่อมแฝง) ได้แก่ if, before, because, as if, since, etc. และ relative pronoun (สัมพันธ์สรรพนาม) ได้แก่ who, what, where, that, which, etc. เพื่อทำให้สองประโยคมีความหมายที่สมบูรณ์

4. Compound – Complex Sentence แปลว่า ประโยคความผสม หรือ อเนกัตถสังกรประโยค

หมายถึง ประโยคที่มีเนื้อความหลายเนื้อความมาอยู่รวมกัน โดยไม่จัดเข้าเกณฑ์ตามแบบประโยคที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้น หรืออาจกล่าวง่ายๆ ว่า ไม่จัดเข้าพวก ทั้งสามประโยคที่กล่าวมาข้างต้น และมีกฎเกณฑ์สลับซับซ้อน

ตัวอย่างเช่น

            - Venerable Kitti can not remember whose book it is, so he asks his friend.

            ท่านกิตติไม่สามารถจำว่าหนังสือนี้เป็นของใครได้ ดังนั้นเขาจึงถามเพื่อนของเขา

- Venerable Manop does not understand what teacher explains, yet he writes it down in his note book.

ท่านมานพไม่เข้าใจในสิ่งที่ครูกำลังอธิบาย ถึงกระนั้นก็ตามเขาก็ได้จดมันไว้ในสมุดจดบันทึกของเขา

            หมายเหตุ : จากตัวอย่าง จะเห็นได้ว่า compound - complex sentence (ประโยคความผสมหรือสังกรอเนกัตถประโยค) มีประโยคเล็กที่เรียกว่า clause (อนุประโยค) แทรกเขามาท่ามกลาง Compound Sentence (ประโยคความรวมหรืออเนกัตถประโยค)

 

 

สรุป

 

Sentence หมายถึง กลุ่มคำที่ประกอบด้วยภาคประธาน และภาคขยายประธาน ที่เรียงประกอบเข้าด้วยกันอย่างเป็นระเบียบ โดยแสดงข้อความที่มีความหมายอย่างใดอย่างหนึ่ง

            Sentence (ประโยค) ในภาษาอังกฤษ ท่านได้แบ่งออกเป็น 4 ประเภท คือ

1. Simple Sentence (ประโยคความเดียวหรือเอกัตถประโยค) แบ่งออกเป็น6คือ

1.1 ประโยคบอกเล่า (Affirmative Sentence)

1.2 ประโยคปฏิเสธ (Negative Sentence )

1.3 ประโยคคำถาม (Interrogative Sentence)

1.4 ประโยคคำถามเชิงปฏิเสธ (Negative Question Sentence)

1.5 ประโยคข้อร้องหรือบังคับ ( Imperative Sentence)

1.6 ประโยคอุทาน (Exclamation Sentence)

2. Compound Sentence (ประโยคความรวม หรืออเนกัตถประโยค)

3. Complex Sentence (ประโยคความซ้อน หรือสังกรประโยค)

4. Compound – Complex Sentence (ประโยคความผสม หรือ อเนกัตถสังกรประโยค)

…………………………..

 

เอกสารอ้างอิง

 

เลิศ เกสรคำ. Grammar and Techniques of the English Language.พิมพ์ครั้งที่2, กรุงเทพฯ:

สำนักพิมพ์วัฒนาพานิช จำกัด, 2528

สำราญ คำยิ่ง. Advanced English Grammar for High Learner. ฉบับปรับปรุง, กรุงเทพฯ : บริษัท

สำนักพิมพ์ประสานมิตร (ปสม.) จำกัด, มปป.

Shirley Burridge. Oxford Basic English Dictionary. Oxford: Oxford University press,1981

Simon & Schuster; Inc. Webster’s New World Dictionary. Third College Edition, New York:

Webster’s New World,1988

The University of Birmingham. Collins Cobuild English Dictionary. London: Harper Collins

Publishers,1995


http://blog.eduzones.com/yimyim/3354